ธุรกิจจะขับเคลื่อนไปได้ยังไง หากไร้หัวใจสำคัญที่เรียกว่า “ลูกค้า”
ลูกค้า อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นการที่จะดึงดูดลูกค้าแค่เพียงเข้าใจลูกค้าเพียงเท่านั้นอาจจะยังไม่พอ แต่การนำกลยุทธ์ทางจิตวิทยา หรือ ‘Market Psychology’ มาใช้ร่วมด้วยอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อธุรกิจของคุณ
Marketing Psychology การนำจิตวิทยาที่มีการอ้างอิงจากทฤษฎีจริงที่มีการถูกวิจัยไปแล้ว มาปรับใช้กับการทำกลยุทธ์ทางการตลาดตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการจัดจำหน่าย
5 เทคนิค จิตวิทยาดึงดูดใจลูกค้า พาการตลาดยุคดิจิทัลให้สำเร็จ !!
🔹 Scarcity (ความขาดแคลน)
‘สินค้าจะมีความดึงดูดมากขึ้นถ้ามันมีจำกัด’ หลักการที่จะชักจูงจิตใจ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าหายากและมีจำนวนจำกัด (Limited) ส่งผลให้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะตามหาและแย่งซื้อสินค้าเพราะกลัวพลาดโอกาส
🔹 Anchoring Bias (การยึดติด)
‘มนุษย์จะตัดสินใจและเชื่อตามข้อมูลชุดแรกที่ได้รับ’ เมื่อคนเราได้รับข้อมูลครั้งแรก เราจะปักใจเชื่อว่าข้อมูลนั้นถูกต้องและดีที่สุด ทำให้หลักจิตวิทยาดังกล่าวถูกนำมาปรับใช้ในการทำธุรกิจ เช่น การตั้งราคาให้สูง และหลังจากนั้นค่อยมอบโปรโมชันให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้ามีความคุ้มค่าหากซื้อไป
🔹 Social Proof (หลักฐานทางสังคม)
‘การรู้สึกเชื่อใจต่อความคิดเห็นของผู้อื่น และปล่อยให้ความคิดนั้นส่งผลกระทบต่อการเชื่อใจและการตัดสินใจ’ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยของลูกค้าที่ก่อนจะตัดสินใจซื้ออะไรก็ต้องดูรีวิวหรือหาข้อมูลของสินค้านั้นๆ ก่อน โดย Social Proof ที่ส่งผลต่อความเชื่อถือของลูกค้านั้นมีหลายประเภท ดังนี้
Certification (การรับรอง) การรับรองความน่าเชื่อถือที่ออกมาเป็นรูปแบบที่สามารถรับรู้ได้ เช่น มิชลินไกด์
Media Coverge (การใช้สื่อ) การใช้สื่อเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ เช่น การโฆษณาหรือการใช้สื่อเฉพาะทาง
Social Media (การใช้โซเชียลมีเดีย) การเพิ่มความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้จริง
Expert Referrals (การอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ) การยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น ยาสีฟัน ที่ได้รับการยอมรับจากทันตแพทย์
Rating, Review & Testimonial (การให้คะแนนและการรีวิว)
Word of Mouth (การบอกต่อจากคนรอบข้าง)
🔹 Reciprocity (การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน)
‘เมื่อเราได้รับอะไรบางอย่างมา ก็จะเกิดความรู้สึกอยากตอบแทนกลับไป’ หลักการทางจิตวิทยาที่เล่นกับความขี้เกรงใจของมนุษย์ เช่น เมื่อเราไปชิมอาหารจากบูธ แล้วเราไม่ซื้อ เราจะเกิดความรู้สึกผิดและเกรงใจ ทำให้ต้องซื้อในที่สุดต่อให้เป็นสินค้าที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ตาม
🔹 Partial Ownership (การเป็นเจ้าของบางส่วน)
‘เมื่อเรารู้สึกว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในบางสิ่ง เราจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในนั้นและยากที่จะเลิกทำสิ่งนั้น’ เช่น การให้ทดลองใช้สินค้าฟรี การทดลองขับรถ เพราะเมื่อผู้บริโภคได้ลองจับและใช้สินค้าก็จะรู้สึกถึงความผูกพันและความเป็นเจ้าของ
และการทำความเข้าใจลูกค้าและรู้จักพฤติกรรมของผู้บริโภคที่แท้จริง ยังส่งผลให้ธุรกิจของเราได้นำประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกมาปรับปรุงธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกด้วย
#thebigblue #thebigblueocean #BBO3 #จิตวิทยา #การพัฒนาธุรกิจ #การตลาด #marketing