5 สิ่งที่ผู้นำไม่ควรทำ ตอนให้ฟีดแบคลูกทีม

Leadership
Culture

Feedbackteam.jpg

การให้ฟีดแบคนั้นเป็นทักษะสำคัญอย่างหนึ่งของผู้นำที่จะช่วยให้ลูกทีมได้เติบโตและพัฒนาตัวเอง อย่างไรก็ตามการให้ฟีดแบคอย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หลายคนมักจะผิดพลาดในขั้นตอนนี้จนทำให้ฟีดแบคที่ออกไปไม่ได้มีประโยชน์นัก หรือบางทีก็เป็นฟีดแบคที่รุนแรง และไม่ได้ก่อให้เกิดการพัฒนา

ในบทความนี้มาจะเตือน 5 สิ่งที่ผู้นำไม่ควรทำตอนให้ฟีดแบค

📌ฟีดแบคที่คลุมเครือ หรือค่อนข้างจะเป็นเรื่องทั่วไป

หนึ่งในฟีดแบคที่แสนจะคลุมเครือและทั่วไป ก็คือการบอกว่า “ทำได้ดีมาก” หรือ “คุณต้องทำงานหนักขึ้นอีกนะ” โดยไม่ได้อธิบาย แนะนำ หรือยกตัวอย่างอะไรที่ชัดเจนจับต้องได้เลย

ฟีดแบคในลักษณะนี้ทำให้ผู้ฟังไม่ได้รู้ว่าตัวเองทำดีตรงไหน และตรงไหนที่ต้องปรับปรุง หรือว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความสับสน หงุดหงิด หรือขาดแรงกระตุ้น

วิธีที่ดีคือใช้หลัก STAR เพื่ออธิบาย คือ การใหฟีดแบคโดยอธิบายตาม Situation (สถานการณ์), Task (งาน), Action (การกระทำ), และ Result (ผลลัพธ์) แล้วจึงให้คำแนะนำสำหรับพัฒนาที่ชัดเจน

📌พูดเชิงลบ หรือรุนแรง

ฟีดแบคที่ไม่ดีคือการพูดในเชิงลบ เช่น การวิจารณ์ที่ตัวบุคคลนั้นๆ แทนที่จะพูดเรื่องพฤติกรรม การใช้คำว่า “ทุกครั้ง” หรือ “ไม่เคย” หรือการพยายามโจมตีอีกฝ่ายและตัดสินคนๆ นั้นไปแล้ว เป็นการให้ฟีดแบคที่ทำลายความเชื่อมั่นในตัวเอง และทำลายความสัมพันธ์ ทั้งยังอาจทำให้เกิดพฤติกรรมต่อต้าน

คุณต้องให้ฟีดแบคในด้านบวกและสร้างสรรค์ ใช้กลยุทธ์แบบแซนด์วิชคือ เริ่มพูดจากสิ่งดีๆ ก่อน แล้วเสริมด้วยฟีดแบคด้านลบไว้ตรงกลาง ก่อนจะปิดด้วยคำพูดด้านบวก และให้จำไว้ว่าให้พูดฟีดแบคด้านบวกอย่างน้อย 3 อย่าง ต่อการพูดฟีดแบคด้านลบ 1 อย่าง และท้ายที่สุดให้พูดในเชิงมุมมองของคุณเอง จากความรู้สึก จากการสังเกตของคุณ ไม่ใช่ไปโยนให้คนอื่น

📌ไม่ทันเวลา หรือ ไม่บ่อยนัก

การทิ้งเวลานานๆ แล้วค่อยมาให้ฟีดแบค หรือการให้ฟีดแบคแค่ครั้งเดียวต่อปี หรือให้ฟีดแบคเมื่อมีเรื่องแย่ๆ เป็นวิธีการให้ฟีดแบคที่ไม่ค่อยดีนัก และแน่นอนว่ามักทำให้ผู้รับรู้สึกเพิกเฉย และไม่สนใจ หรืออาจจะจำในสิ่งที่ทำลงไปไม่ได้แล้วด้วยซ้ำ

ดังนั้นคุณต้องให้ฟีดแบคในเวลาที่เหมาะสม และสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่ในตอนที่รู้สึกว่าเกิดปัญหาเท่านั้น

📌ฟีดแบคทางเดียว

การให้ฟีดแบคแบบเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียว ไม่รับฟัง หรือไม่ปล่อบให้ผู้รับฟีดแบคได้โต้ตอบสอบถามอะไรบ้างเลย จะทำให้ผู้รับฟีดแบครู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับการเคารพ เบื่อ หรือหนักใจ

คุณต้องให้ฟีดแบคด้วยความเข้าใจ ยอมรับ ระลึกไว้ว่าแต่ละคนมีมุมมองของตัวเอง หรืออาจจะต้องการการอธิบายเพิ่มเติม นอกจากนี้ควรเป็นการสนทนาทั้งสองทาง คือเมื่อให้ฟีดแบคไปแล้ว ก็ต้องเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แชร์ความคิดเห็น ความรู้สึกของตัวเองด้วยเหมือนกัน แล้วคุณก็ต้องฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ

📌ไม่สอดคล้องกัน หรือขัดแย้งกัน

การให้ฟีดแบคเมื่อวานแบบหนึ่ง วันนี้แบบหนึ่ง พรุ่งนี้อีกแบบหนึ่ง หรือให้ฟีดแบคต่างกันขึ้นอยู่กับว่าอีกคนหนึ่งเป็นใคร เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และจะทำให้ผู้รับฟังรู้สึกสับสน ไม่เชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือในฐานะผู้นำของคุณก็จะลดลงไป และกลายเป็นเกิดความขัดแข้งกันในทีมอีก

จำไว้ว่าทุกครั้งที่ให้ฟีดแบคต้องสอดคล้องกัน คนที่ทำพฤติกรรมคล้ายๆ กัน ความสามารถคล้ายๆ กัน ก็ต้องได้รับฟีดแบคที่คล้ายกัน ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง แล้วที่สำคัญคือฟีดแบคนั้นต้องสอดคล้องกับการกระทำของตัวคุณเองด้วยเหมือนกัน
 

Big blue's logo
ติดต่อเรา

contact@bigblueocean.co


©2024 Bigblueocean All rights reserved